หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า “ยานสำรวจวอยเอจเจอร์ 2” (Voyager 2) ขององค์การนาซา ที่กำลังปฏิบัติภารกิจอยู่ในระบบสุริยะชั้นนอก ได้ขาดการติดต่อไปเกือบ 2 สัปดาห์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ควบคุมป้อนคำสั่งผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เสาอากาศที่ยานใช้สื่อสารกับโลกเกิดเปลี่ยนทิศทาง
ล่าสุด ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ของนาซา ซึ่งรับผิดชอบภารกิจวอยเอจเจอร์ รายงานว่า สามารถตรวจจับสัญญาณจากยานวอยเอจเจอร์ 2 ได้แล้ว
ซูซานน์ ดอดด์ ผู้จัดการโครงการยานวอยเอจเจอร์ กล่าวว่า “เราขอความช่วยเหลือจาก เครือข่ายห้วงอวกาศลึก (Deep Space Network) และกลุ่มวิทยาการวิทยุ (Radio Science) เพื่อดูว่าเราได้ยินสัญญาณจากยานวอยเอจเจอร์ 2 หรือไม่”
นาซาวุ่นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง! “ยานวอยเอจเจอร์ 2” สูญหาย หลังออกคำสั่งพลาดจนขาดการติดต่อ
นักวิทย์คืนชีพพยาธิตัวกลมโบราณในไซบีเรีย หลังจำศีลนาน 46,000 ปี
เธอเสริมว่า “เราประสบความสำเร็จ โดยเรามองเห็นสัญญาณจากยานสำรวจ ดังนั้นเราจึงรู้ว่ายานอวกาศยังปฏิบัติการอยู่ สิ่งนี้ทำให้กำลังใจของเราดีขึ้น”
คำสั่งที่ส่งไปยังยานวอยเอจเจอร์ 2 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ทำให้เสาอากาศของยานอวกาศเบี่ยงออกจากโลก 2 องศา การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยนั้นทำให้ยานวอยเอจเจอร์ 2 ไม่สามารถรับคำสั่งใด ๆ จากโลก หรือส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้ แต่ยังคงทำงานเก็บข้อมูลได้ปกติ
ดอดด์บอกว่า ขณะนี้ทีมควบคุมจะพยายามส่งสัญญาณกลับไปยังยานวอยเอจเจอร์ 2 เพื่อพยายามปรับเสาอากาศของยานให้กลับเข้าสู่ทิศทางเดียวกับโลกอีกครั้ง ซึ่งอาจต้องใช้ความพยายามส่งคำสั่งไปหลายครั้ง
“ตอนนี้เรากำลังสร้างคำสั่งใหม่เพื่อพยายามชี้เสาอากาศของยานอวกาศมายังโลก … แต่มีความเป็นไปได้ต่ำที่จะได้ผล” เธอกล่าว
หากยังไม่สามารถทำได้ นาซาต้องรอไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคมนี้ ที่ระบบอัตโนมัติของยานวอยเอจเจอร์ 2 จะรีเซตตัวเองเพื่อรักษาทิศทางของเสาอากาศให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
สำหรับยานวอยเอจเจอร์ 2 มียานฝาแฝดอีกลำหนึ่งคือยานวอยเอจเจอร์ 1 โดยยานทั้งสองลำถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ปี 1977 เพื่อบันทึกภาพของดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี แต่ยังคงเดินทางไปเรื่อยๆ จนหลุดขอบระบบสุริยะจักรวาลและเข้าสู่พื้นที่ระหว่างดาวฤกษ์ หรือ interstellar space
ในปี 2012 ยานวอยเอจเจอร์ 1 ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางถึงพื้นที่ระหว่างดาวฤกษ์และยังเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นชิ้นแรกที่เดินทางพ้นขอบระบบสุริยะจักรวาล โดย ปัจจุบันอยู่ห่างจากโลกประมาณ 24,000 กิโลเมตร และยังคงติดต่อกับโลกตามปกติ
ส่วนยานวอยเอจเจอร์2 เดินทางพ้นขอบระบบสุริยะจักรวาลเมื่อปี2018 หลังจากค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งพบดวงจันทร์ของดาวยูเรนัสเพิ่มอีก 10 ดวง และ ดาวเนปจูนอีก 5 ดวง โดยยานวอยเจอร์2 ยังเป็นยานอวกาศเพียงลำเดียวจนถึงปัจจุบันที่สามารถเก็บข้อมูลดาวเคราะห์ยักษ์ทั้ง 4ในระบบสุริยะจักรวาลได้จากระยะใกล้
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก NASA