พบงูสายพันธุ์ใหม่ในเปรู ตั้งชื่อตามนักแสดงดัง “แฮร์ริสัน ฟอร์ด”

ที่ประเทศเปรู มีการค้นพบงูสายพันธุ์ใหม่ แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ตามชื่อของนักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง ผู้เป็นที่จดจำจากบทบาท อินเดียนา โจนส์ อย่าง “แฮร์ริสัน ฟอร์ด”

โดยกลุ่มอนุรักษ์นานาชาติ (Conservation International) ตั้งชื่องูสายพันธุ์ใหม่ที่พบในเปรูนี้ว่า “ทาคีเมนอยด์ส แฮร์ริสันฟอร์ดี” (Tachymenoides harrisonfordi) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงานด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน

ฟอร์ดซึ่งเป็นรองประธานของกลุ่มอนุรักษ์นานาชาติ กล่าวว่า “นักวิทยาศาสตร์มักตั้งชื่อสัตว์ตามชื่อผมเสมอ แต่พวกมันมักจะทำให้เด็ก ๆ หวาดกลัว” โดยเขาหมายความถึงแมงมุมแคลิฟอร์เนีย (Calponia harrisonfordi) และมดสายพันธุ์หนึ่ง (Pheidole harrisonfordi) ซึ่งทั้งสองได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามชื่อของเขาเช่นกัน

ฟอร์ดยังบอกอีกว่า แม้ตัวละคร อินเดียนา โจนส์ ในภาพยนตร์จะหลาดกลัวงู แต่ตัวเขานั้นชอบงูมาก

เขากล่าวว่า “งูมีดวงตาที่ทำให้คุณหลงใหล และมันใช้เวลาเกือบทั้งวันอาบแดดริมน้ำ เราน่าจะเป็นเพื่อนกันในช่วงต้นยุค 60 … การค้นพบนี้เป็นเครื่องเตือนใจว่า ยังมีอีกมากที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโลกธรรมชาติของเรา และมนุษย์ก็เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของชีวมณฑลอันกว้างใหญ่ไพศาล”

 พบงูสายพันธุ์ใหม่ในเปรู ตั้งชื่อตามนักแสดงดัง “แฮร์ริสัน ฟอร์ด”

การค้นพบงูสายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากเปรูและสหรัฐฯ พบที่อุทยานแห่งชาติโอทิชิ (Otishi) ของเปรูคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับเจ้างู ทาคีเมนอยด์ส แฮร์ริสันฟอร์ดี นั้น มีลักษณะเป็นงูที่ลำตัวเรียวยาว เมื่อโตเต็มที่มีขนาดราว 40 เซนติเมตร ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ด้าน เอ็ดการ์ เลห์ร หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบ กล่าวว่า “สำหรับนักชีววิทยาแล้ว การอธิบายถึงสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่และเผยแพร่ต่อสาธารณะด้วยชื่อใหม่นั้นเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตความหลากหลายทางชีวภาพ … มีเพียงสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักเท่านั้นที่จะสามารถปกป้องเอาไว้ได้”

เขาหวังว่า การค้นพบนี้จะเพิ่มความตระหนักและความสนใจในเรื่องของวิกฤตการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก โดยการศึกษาจากกลุ่มอนุรักษ์นานาชาติพบว่า สัตว์เลื้อยคลานมีแนวโน้มจะสูญพันธุ์สูง โดยมากกว่า 1 ใน 5 ของสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดบนโลกกำลังถูกคุกคาม

เรียบเรียงจาก BBC

ภาพจาก Conservation International