นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ไทยได้รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันเทคบอลชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 29 พ.ย.-3 ธ.ค. นี้ ณ อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก ซึ่งกำหนดจัดการชิงชัยทั้งสิ้น 5 ประเภท ประกอบด้วย ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว ชายคู่ หญิงคู่ และคู่ผสม โดยมีนักกีฬาเทคบอล 211 คน ที่มาจาก 55 ชาติทั่วโลก เข้าร่วมการแข่งขัน
สำหรับงานนี้ แฟน ๆ กีฬาชาวไทยได้เฮกันลั่น เพราะ “โมโน 29” ร่วมกับ สมาคมกีฬาเทคบอลแห่งประเทศไทย และผู้สนับสนุน เตรียมถ่ายทอดสดให้กองเชียร์ได้รับชมกันแบบสด ๆ ถึงหัวกระไดบ้าน
อย่างไรก็ตาม กีฬาเทคบอล มีต้นกำเนิดจากประเทศฮังการี ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศคำพูดจาก สล็อต. 2012 จากนั้น สหพันธ์เทคบอลนานาชาติ (FITEQ) ได้จัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกแล้วที่ผ่านมา 5 ครั้ง ในทวีปยุโรปทั้งหมด ซึ่งครั้งที่ 6 ล็อกเป้าเข้ามาระเบิดศึกในไทยและนับเป็นหนแรกของทวีปเอเชีย เนื่องจาก สหพันธ์ฯ มีแผนจะยึดไทยเป็นฐานของเทคบอลในเอเชีย เพราะเห็นแววนักกีฬาไทยร่วมดวลหวดในรายการเวิลด์คัพที่ผ่านมา โดยมองเห็นอนาคตว่าไทยจะต้องเติบโตแน่ ๆ ในกีฬาประเภทนี้
ขณะที่ กีฬาเทคบอล เริ่มเล่นกันจริงจังในเมืองไทยเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยมีการจัดตั้งสมาคมฯ ซึ่งมี พล.อ.รณชัย มัญชุสุนทรกุล เป็นนายกสมาคมฯ จากนั้นสมาคมได้ดึง นายธวัช กุมุทพงษ์พานิช ผู้จัดการตะกร้อทีมชาติไทย มาเป็นอุปนายกสมาคมฯ แล้วได้เริ่มเอานักตะกร้อมาเล่นและฝึกซ้อม พร้อมกับได้การซัพพอร์ตจากชาติต้นกำเนิด ซึ่งส่งอุปกรณ์ อาทิ โต๊ะโค้ง และลูกเทคบอล รวมถึงผู้ฝึกสอนที่มีความเชี่ยวชาญมาติวเข้มให้แก่เทคบอลไทย โดยใช้ศูนย์ฝึกมูลนิธิตะกร้อแห่งชาติ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นสถานที่ฝึกซ้อมให้กับนักกีฬาทีมชาติไทยจนถึงขณะนี้
ส่วนความน่าสนใจของเทคบอลก็คือ เป็นกีฬาที่ผสมผสานระหว่าง เทเบิลเทนนิส ตะกร้อ และฟุตบอล เข้าไว้ด้วยกัน โดยไทยเราที่เลือกเอานักตะกร้อมาเล่น เพราะว่าขุนพลนักหวดลูกพลาสติก ล้วนมีพื้นฐานการเตะตะกร้ออยู่แล้ว ทำให้เมื่อมาเล่นเทคบอล จึงเกิดความหลากหลาย โดยทีเด็ดของไทยเป็นลูกฟาด ที่ถือเป็นลูกไม้ตาย เหมือนกับที่นักตะกร้อใช้กระโดดขึ้นฟาดลูกหน้าเน็ตในขณะแข่งขันตะกร้อนั่นเอง