รัฐบาลปรับเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุใหม่ตามความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ กรณีย้ายที่อยู่ ให้สั่งจ่ายทันทีในเดือนถัดไป และกรณีมีการปรับขึ้นแบบขั้นบันไดระหว่างปี ให้สั่งจ่ายได้ทันที ไม่ต้องรอสิ้นปีงบประมาณ
การปรับเกณฑ์จ่ายเงินผู้สูงอายุครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการยึดตามสิทธิของผู้สูงอายุ จากเดิมที่อิงตามระเบียบของหน่วยราชการ
รัชดา ธนาดิเรกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ว่า ครม.รับทราบแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สอดรับกับข้อห่วงใยของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้
กรณีการย้ายภูมิลำเนาของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุให้ได้รับสิทธิในเดือนถัดไปทันที เพื่อไม่ให้เสียสิทธิการรับเงิน และกรมการปกครองจัดทำระบบที่สามารถตรวจสอบการย้ายภูมิลำเนาของผู้สูงอายุได้ รวมทั้งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมบัญชีกลางตรวจสอบข้อมูลและคำนวณงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เพื่อส่งข้อมูลให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นได้อย่างถูกต้อง
การปรับอัตราการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได ให้ปรับอัตราการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ วันที่ผู้สูงอายุมีอายุครบในเดือนนั้นทันที ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุระหว่างปีงบประมาณ ทำให้ผู้สูงอายุ ที่มีอายุครบ 70, 80 และ 90 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพในอัตราเดิมตลอดปีงบประมาณ จึงทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าวเสียสิทธิ
ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นแบบขั้นไดตามช่วงอายุ คือ
- อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
- อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
- อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท
ทั้งนี้ การคำนวณอายุของผู้สูงอายุรายเดิม จะคำนวณตามปีงบประมาณ โดยการเลื่อนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดิมแบบขั้นบันไดจะเลื่อนตามปีงบประมาณ ไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระหว่างปีงบประมาณ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์แนวทางการรับลงทะเบียนผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ อปท. พร้อมทั้งปรับปรุงระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพ เพื่อให้สามารถคำนวณการใช้จ่ายงบประมาณในการปรับอัตราการจ่ายเงินได้
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) เร่งรัดการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและนำเข้าที่ประชุม กผส. และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนำมาพิจารณาเพื่อประกอบการแก้ไขระเบียบดังกล่าวด้วย