8 แบงก์ไทยอู้ฟู่ ปี 66 กำไรพุ่ง 2.24 แสนล้านบาท รับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น

คาดกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปี 66 กำไรแตะ 2.3 แสนล้านบาท อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น

SCB ปี 66 กำไร 43,521 ล้านบาท พุ่ง 15.9% จากรายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม

KBANK ปี 66 กำไรโต 18.55% แตะ 42,405 ล้านบาท รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม-ตั้งสำรองสูง

โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากระดับ 0.5% มาตั้งแต่ปลายปี 2565 และในปี 2566 ก็ยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่องอีก 5 ครั้ง จนล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.50% ทำให้เหล่าธนาคารพาณิชย์ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้เพิ่มตามขึ้นมา

ปี 66 กำไร SCBมากที่สุด ส่วน BBL แชมป์เติบโต

– บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCBX ชื่อหลักทรัพย์ SCB กำไรสุทธิ 43,521 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.9% YoY

– ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ KBANK กำไรสุทธิ 42,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.55% YoY

– ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ BBL กำไรสุทธิ 41,636 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.1% YoY

– ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ KTB กำไรสุทธิ 36,616 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% YoY

– ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ BAY กำไรสุทธิ 32,929 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2% YoY

– ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ TTB กำไรสุทธิ 18,462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30.1% YoY

– บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ TISCO กำไรสุทธิ 7,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1% YoY

– ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ชื่อหลักทรัพย์ CIMBT กำไรสุทธิ 1,605 ล้านบาท ลดลง 44.9% YoY

หลายธนาคารพาณิชย์ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) เพิ่มขึ้นในระดับสูง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเริ่มจาก

  • ธ.กสิกรไทย (KBANK) ตั้งสำรอง 51,840 ล้านบาท ลดลง 0.15% YoY
  • ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB) ตั้งสำรอง 43,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.9% YoY
  • ธ.กรุงไทย (KTB) ตั้งสำรอง 37,085 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.4% YoY
  • ธ.กรุงศรีอยุธยา (BAY) ตั้งสำรอง 35,614 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.6 % YoY
  • ธ.กรุงเทพ (BBL) ตั้งสำรอง 33,666 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% YoY
  • ธ.ทหารไทยธนชาต (TTB) ตั้งสำรอง 22,199 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% YoY
  • ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ตั้งสำรอง 9,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.5 % YoY
  • ธ.ทิสโก้ (TISCO) ตั้งสำรอง 613.47 ล้านบาท ลดลง 15% YoY

ด้านสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในปี 2566 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่ปรับเพิ่มขึ้น และบางแห่งทรงตัวในระดับสูงใกล้เคียงกับปี 2565

  • ธ.กรุงไทย (KTB) อยู่ที่ 99,439 ล้านบาท ลดลง 1.63% YoY
  • ธ.ไทยพาณิชย์ (SCB) อยู่ที่ 96,832 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6% YoY
  • ธ.กสิกรไทย (KBANK) อยู่ที่ 94,241 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.84% YoY
  • ธ.กรุงศรีอยุธยา (BAY) อยู่ที่ 61,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.1% YoY
  • ธ.กรุงเทพ (BBL) อยู่ที่ 85,955 ล้านบาท ลดลง 11% YoY
  • ธ.ทหารไทยธนชาต (TTB) อยู่ที่ 41,006 ล้านบาท ลดลง 3.4% YoY
  • ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ตั้งสำรอง 9,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.5 % YoY
  • ธ.ทิสโก้ (TISCO) อยู่ที่ 5,223 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.1% YoY

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงขยายตัวในลักษณะไม่ทั่วถึง โดยการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนอื่นยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับขึ้นของต้นทุน ภาระหนี้และค่าครองชีพของครัวเรือน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอีกทั้งตลาดการเงินโลกในระหว่างปีค่อนข้างผันผวน โดยเริ่มฟื้นตัวกลับในช่วงปลายปีหลังจากที่ตลาดการเงินประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ได้แตะจุดสูงสุดแล้ว

 8 แบงก์ไทยอู้ฟู่ ปี 66 กำไรพุ่ง 2.24 แสนล้านบาท รับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น

สำหรับในปี 2567 แม้เศรษฐกิจไทยน่าจะเติบโตดีขึ้น แต่ยังมีความท้าทายที่หลากหลายจากเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงจากการเติบโตที่ชะลอลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง และเศรษฐกิจจีนที่ยังเผชิญกับปัญหาความเปราะบางของภาคการเงินและตลาดอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ยังต้องติดตามปัจจัยในประเทศ รวมถึงมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐด้วยเช่นกัน

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) กล่าวว่า ในปี 2566 บริษัท เอสซีบี เอกซ์ มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตโควิด ภายใต้การฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศที่ไม่ทั่วถึง ภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูง ตลอดจนความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่เพิ่มสูงขึ้น บริษัทฯ เติบโตสินเชื่อผู้บริโภคแบบไม่มีหลักประกันเพิ่มขึ้นในอัตรา 24% จากปีก่อน

โดยมียอดสินเชื่อคงค้างในส่วนนี้จำนวนกว่า 165,000 ล้านบาท เป็นการตอบรับแนวนโยบายภาครัฐเรื่องการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับผู้มีรายได้น้อย (financial inclusion) ของประเทศ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงการลงทุนหุ้นกู้ของบริษัทฯ ที่ให้ผลตอบแทนมั่นคง ผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างทั่วถึง ภายใต้สภาวะตลาดทุนที่มีความผันผวนสูงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับกลยุทธ์ในระยะต่อไป บริษัทฯ จะเน้นการเติบโตธุรกิจจากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และบริหารต้นทุนให้เหมาะสม บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน เพื่อเป็นตัวจักรสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ ขยายการบริการลูกค้าอย่างทั่วถึง และสร้างมูลค่าผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2566 ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังไม่ทั่วถึงในรูปแบบ K-shaped economy โดยภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เริ่มกลับมาเป็นปกติมากขึ้น ส่งผลดีต่อการจ้างงานและการบริโภคภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะชะลอตัว ส่งผลต่อไปถึงการลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวต่ำกว่าคาด

ขณะที่การลงทุนภาครัฐได้รับผลกระทบจากการเบิกจ่ายที่ต่ำกว่าปกติ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญการเปลี่ยนผ่านเชิงนโยบายสู่ภาวะปกติซึ่งเห็นได้ชัดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวขึ้น ความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับภาคครัวเรือนยังมีภาระหนี้สูงทั้งในและนอกระบบ ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงกลุ่มเปราะบางและผู้มีรายได้น้อยยังฟื้นตัวได้ช้า

ทั้งนี้ ธนาคารจึงดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง บริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด โดยรักษาระดับของ Coverage Ratio ในระดับสูง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การฟื้นตัวภายใต้ศักยภาพที่ลดลงและการให้ความสำคัญกับการดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มให้สามารถปรับตัว และแก้ไขปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)ระบุว่า ในปี 2566 สภาวะเศรษฐกิจไทยโดยภาพรวมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเป็นการเติบโตที่ช้ากว่าคาดการณ์จากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนแอและการฟื้นตัวในประเทศที่ไม่ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นในด้านการเงินที่มีความทั่วถึงทุกภาคส่วนและการเติบโตในภูมิภาคอาเซียน สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงสินเชื่อเพื่อรายย่อยโดยเฉพาะส่วนที่มาจากบริษัทลูกในต่างประเทศที่เพิ่งควบรวมเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่ส่งผลให้กำไรสุทธิมีความแข็งแกร่งและเงินให้สินเชื่อรวมเติบโตได้ถึง 3.5% ในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นถึง 3.4% ในปี 2567 แต่จากความท้าทายด้านสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้บริโภครายย่อยและผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง กรุงศรีจึงกำหนดพันธกิจสำหรับปีนี้ โดยเร่งดำเนินการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองได้ต่อไป และช่วยบรรเทาปัญหาหนี้เรื้อรังของประเทศอย่างจริงจัง ตอกย้ำหลักการธนาคารพาณิชย์ที่มีจุดยืนเพื่อความยั่งยืนของกรุงศรี รวมทั้งการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย