ไขข้อสงสัย! ทำไม "งูสีฟ้า" ถึงเรียกว่า "ทิฟฟานี่บลู"

กลายเป็นที่ฮือฮาบนโลกโซเชียลอีกครั้ง กรณีมีผู้พบ งูทิฟฟานี่บลูที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งการพบเห็นครั้งนี้สร้างความตื่นตาแก่ผู้พบเห็นจำนวนมาก ด้วยลักษณะเฉพาะที่มีสีฟ้าสวยงามแปลกตา หายาก ไม่ค่อยมีผู้ได้พบเห็น ในขณะเดียวกันก็สร้างความสงสัยเช่นเดียวกันว่า งูประเภทดังกล่าวมีพิษหรือไม่ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยพบเห็นในประเทศไทยมาแล้วเมื่อ 1 ปีก่อนที่จังหวัดนครราชสีมา

ล่าสุด ก็มีชาวไต้หวันรายหนึ่ง โพสต์วิดีโอบนเฟซบุ๊ก เผยให้เห็นงูสีฟ้าสวยงามที่พงหญ้าข้างทาง ทำให้หลายคนอยากรู้จักงูประเภทนี้มากขึ้น

 ไขข้อสงสัย! ทำไม "งูสีฟ้า" ถึงเรียกว่า "ทิฟฟานี่บลู"

ชาวไต้หวันพบ "งูทิฟฟานี่บลู" ข้างทาง ชาวเน็ตคาด อาจเป็นงูศักดิ์สิทธิ์

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ใจจำขายช้าง 1 ล้าน! ล่าสุดมีคนขอซื้อแล้ว

ไขข้อสงสัย ทำไมฝนต้องตกตอนเลิกงานทุกที!

รู้จัก "งูสีฟ้า"

งูชนิดดังกล่าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trimeresurus Insularis เป็นงูเขียวหางไหม้ชนิดหนึ่งที่เป็นงูประจำถิ่นบริเวณเกาะชวา และหมู่เกาะซุนดาน้อย ประเทศอินโดนีเซีย ชอบอาศัยอยู่ตามที่สูงหรือบนต้นไม้ โดยปกติแล้ว งูชนิดนี้จะมีสีเขียว-เขียวอ่อนเหมือนงูเขียวหางไหม้ทั่วไป แต่ด้วยความผิดปกติทางพันธุกรรม ร่างกายไม่ผลิตเม็ดสีสีเหลืองบนลำตัวทำให้ลำตัวมีสีฟ้าสวยงาม อีกทั้งยังสามารถเรืองแสงได้ในยามค่ำคืน และจัดว่าเป็นงูที่หายากชนิดหนึ่งของโลก

งูเขียวหางไหม้ ทำไมเรียก ทิฟฟานี่บลู?

“ทิฟฟานี่บลู” เป็นชื่อเรียกสีฟ้าอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ “ทิฟฟานี่แอนด์โค” (Tiffany & Co.,) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ทิฟฟานี่ ซึ่งเป็นแบรนด์อัญมณีและเครื่องประดับจากสหรัฐฯ โดยทางแบรนด์เริ่มใช้สีดังกล่าวบนหน้าปกของหนังสือทิฟฟานี่บลู ตีพิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ. 1845 พร้อมจดทะเบียนสีทิฟฟานี่บลูเมื่อปีค.ศ. 1998 และใช้สีดังกล่าวเป็นสีประจำแบรนด์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาคำพูดจาก สล็อตเว็บไซต์โดยตรง

และด้วยความที่สีดังกล่าวมีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เมื่อมีผู้พบงูเขียวหางไหม้ที่พันธุกรรมผิดปกติ มีลำตัวสีฟ้าเหมือนสีของแบรนด์ทิฟฟานี ทำให้เรียกงูสีฟ้าที่พบว่า “งูทิฟฟานี่บลู”

สีสันสวยงาม แต่แฝงด้วยอันตราย

จากที่กล่าวไปข้างต้น งูชนิดดังกล่าวเป็นงูเขียวหางไหม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติแล้วเป็นงูที่มีพิษร้ายแรง ซึ่งเป็นพิษที่ส่งผลต่อระบบเลือด โดย คณะเวชศาสร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ให้รายละเอียดว่า เมื่อถูกกัด และได้รับพิษในปริมาณน้อย จะมีอาการปวดหรือบวมบริเวณที่ถูกกัดเท่านั้น แต่หากได้รับพิษในปริมาณมาก จะทำให้เลือดไหลไม่หยุดตามจุดที่ถูกกัด และอาจเลือดออกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีอาการไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด และปัสสาวะเป็นเลือดร่วมด้วย

วิธีเลี่ยงการเผชิญหน้ากับงู

สวนงู สถานเสาวภา สภากาชาดไทยให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีเลี่ยงการเผชิญหน้ากับงูหรือหลีกเลี่ยงการถูกงูกัด ดังนี้

  • หากพบเห็นงู พยายามควบคุมสติ ไม่ให้ตกใจมากเกินไป
  • ถ้าพบงูในระยะห่าง อย่าเข้าใกล้งู เพราะงูจะไม่เข้ามาทำร้ายมนุษย์ก่อน
  • ถ้าพบงูในระยะใกล้ให้อยู่นิ่ง ๆ รองูเลื้อยหนีไป เพราะงูส่วนใหญ่สายตาไม่ดี มักจะฉกกัดสิ่งที่เคลื่อนไหวเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรู
  • ถ้างูไม่ยอมเลื้อยหนี ให้ก้าวถอยหลังช้า ๆ จนพ้นระยะประมาณ 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่พ้นการฉกกัดของงู
  • หากมีความจำเป็นต้องเดินเข้าไปในพื้นที่ที่อาจมีงู ให้สวมรองเท้าบู้ทยาวเพื่อป้องกันงูกัด และใช้ไม้ยาว ๆ เคาะไปตามพื้นหรือบริเวณด้านหน้า เพื่อเตือนให้งูหนีไปก่อน หรือเพื่อตรวจดูว่ามีงูอยู่หรือไม่
  • ควรเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางคืน หากมีความจำเป็นควรพกไฟฉายหรือวัตถุที่ให้แสงสว่างส่องนำทาง
  • ควรเช็คบริเวณที่นอนและกองผ้าต่าง ๆ ก่อนทุกครั้ง เพราะงูมักจะหาที่อบอุ่นเพื่อหลบซ่อนตัวตามกองผ้า ที่นอน และหมอนมุ้ง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัด

นอกจากนี้ ทางสวนงู สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกงูกัดไว้ ดังนี้

  1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ใช้ผ้าพันแผลหรือผเาพันเคล็ดชนิดยืดหยุ่นได้ เริ่มพันจากรอยแผลถูกกัด จนถึงข้อต่อ หรือสูงเหนือบาดแผลให้ได้มากที่สุด
  2. หาไม้กระดานหรือวัสดุที่มีความแข็งมาดาม แล้วพันด้วยผ้าพันแผลทับอีกครั้ง เพื่อให้อวัยวะส่วนที่ถูกกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
  3. นำตัวส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาด้วยเซรุ่มแก้พิษงู

ขอบคุณภาพจาก Tiffany Co.,

ประกาศฉบับที่ 19 “ฝนตกหนักถึงหนักมาก” เตือน! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม

วอลเลย์บอลหญิงไทย ชนะ เวียดนาม 3-1 เซต ลิ่วดวล ญี่ปุ่น ศึกชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023

“กรดยูริก” สะสมในเลือดสูงกระตุ้นโรคเกาต์ พบได้ที่ไหนบ้าง?