น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 1 เดือนที่ 35.42 บาทต่อดอลลาร์ นับตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค.ที่ผ่านมา ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.10 น.) ซึ่งก็ยังคงเป็นระดับที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 35.76 บาทต่อดอลลาร์
โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้(10 ส.ค.) ซึ่งน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย หลังจากที่ยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตั้งแต่เดือนพ.ค. 2563คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้เงินดอลลาร์ ก็มีปัจจัยกดดันให้อ่อนค่าจากตัวเลขการคาดการณ์เงินเฟ้อสหรัฐ ที่สำรวจโดยเฟดสาขานิวยอร์ก ซึ่งปรับลดลงจาก 6.8% มาอยู่ที่ 6.2% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 35.40-35.65 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ระหว่างสหรัฐ-จีน รวมถึง highlights สำคัญในวันพุธที่ 10 ส.ค. ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย และตัวเลขเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (9 ส.ค.65) ที่ระดับ 35.56 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.77 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.45-35.65 บาทต่อดอลลาร์
สำหรับวันนี้ มองว่า ตลาดอาจยังคงเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบเนื่องจากผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่จะยังคงรอติดตามรายงานข้อมูลเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของสหรัฐ ที่จะทราบในช่วงค่ำของวันพุธนี้ (เวลาประมาณ 19.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย) อย่างไรก็ดี ในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของไทยนั้น ประเมินว่า แนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง และภาระค่าใช้จ่ายของผู้คนด้านพลังงานที่ลดลงตามการปรับตัวลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือนกรกฎาคม อาจช่วยหนุนให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) พลิกกลับมาปรับตัวขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 41.8 จุด ในเดือนกรกฎาคมได้คำพูดจาก สล็อตpg
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท มองว่า เงินบาทอาจแกว่งตัวผันผวนในกรอบ sideways จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามากระทบทิศทางเงินบาท อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างวัน เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ตามโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ รวมถึง แรงซื้อหุ้นไทยสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ และแรงซื้อบอนด์ระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติบางส่วนที่เริ่มกลับเข้ามาเก็งกำไรการแข็งค่าของเงินบาทอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี เงินบาทอาจไม่ได้แข็งค่าขึ้นเร็วไปมากนัก เนื่องจากผู้นำเข้าบางส่วนอาจรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ในจังหวะที่เงินบาทเริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น ทำให้เงินบาทอาจมีแนวรับใหม่ในโซน 35.40-35.50 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนโซนราคา 35.80-36.00 บาทต่อดอลลาร์ อาจเป็นโซนแนวต้านใหม่ของเงินบาทในช่วงนี้ ซึ่งเราเริ่มเห็นผู้ส่งออกต่างรอขายเงินดอลลาร์ในช่วงดังกล่าวพอสมควร รวมถึงผู้เล่นต่างชาติที่รอทยอยเพิ่มสถานะการเก็งกำไรเงินบาทแข็งค่าในโซนดังกล่าว